วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558
การโคลนนิ่งมนุษย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ประวัติการโคลนนิ่ง
ความจริงแล้วการโคลนนิ่ง (Cloning)นั้น มนุษย์สามารถที่จะทำได้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งเป็นการโคลนนิ่ง (Cloning) ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนอะไรมากมาย นั่นคือ การโคลนนิ่ง(Cloning)ที่ทำกับพืชนั่นเอง หรือคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศของพืช ที่เรียกกันว่า “การเพาะชำพืช” ซึ่งเรื่องการโคลนนิ่ง(Cloning) ของสัตว์และมนุษย์ก็เป็นเรื่องของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นกัน โดยต่อมาการโคลนนิ่งพืช ก็ได้มีการพัฒนาโดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย อย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นั่นเอง
การโคลนนิ่งสัตว์

การโคลนนิ่งสัตว์ คือ การสร้างสัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาที่มี รูปร่าง, หน้าตา, ลักษณะต่างๆ,พันธุกรรม รวมถึงเพศ เหมือนกับสัตว์ตัวที่เป็นต้นแบบ หรือ เรียกได้ว่า ถอดแบบกันออกมา
การโคลนนิ่งมนุษย์

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการการโคลนนิ่ง(cloning)มนุษย์เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ เนื่องด้วยปัญหาทางด้านจริยธรรม อย่างเช่น ในกรณีที่มีคนต้องการอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเนื่องจากอาจสูญเสียไป หรือ ใช้การไม่ได้ อันเนื่องเหตุใดเหตุหนึ่ง แล้วรอรับบริจาคอวัยวะนั้นอยู่เพื่อการปลูกถ่ายทดแทนอวัยวะเดิมที่สูญเสียไป ซึ่งต่อให้ได้รับบริจาคแล้วก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับด้านภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจต่อต้านอวัยวะที่รับมาใหม่ได้ทำให้เกิดผลไม่ดีได้
ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของการโคลนนิ่ง
- การโคลนนิ่ง(cloning) ทำให้เกิดความไม่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นตัวต้นแบบ
- การโคลนนิ่ง(cloning) ทำให้เกิดการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ
การโคลนนิ่งพืช (Plants Cloning)
การโคลนนิ่ง(Cloning)เป็นการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมกับต้นแบบทุกประการ ดังนั้น
การโคลนนิ่งพืช คือ การเพิ่มจำนวนของพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมกับพืชที่เป็นต้นแบบทุกประการ
การโคลนนิ่งพืช คือ การเพิ่มจำนวนของพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนเดิมกับพืชที่เป็นต้นแบบทุกประการ
ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการโคลนนิ่ง
- การโคลนนิ่ง(cloning) ช่วยในการเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชหายาก หรือเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์และพันธุ์พืชที่ใกล้ที่จะสูญพันธุ์ ได้เร็วกว่าการผสมพันธุ์กันแบบปกติตามธรรมชาติ
- การโคลนนิ่ง(cloning) ช่วยในการเพิ่มจำนวนสัตว์ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี เช่น หมูที่ให้เนื้อในปริมาณมากหรือโคที่ให้น้ำนมในปริมาณมากที่มีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น
การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ อะไร

การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ การคัดลอก หรือการทำซ้ำ ให้มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
หากกล่าวเรื่อง การโคลนนิ่ง (Cloning) ในแง่ของสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวพันถึงเทคโนโลยีชีวภาพแล้ว
การโคลนนิ่ง (Cloning) คือ กระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตที่ถูกโคลนออกมาจะมีลักษณะทางพันธุกรรม โดยรวมถึงมีลักษณะทางกายภาพ เหมือนกับสิ่งมีชีวิตต้นแบบ หรือ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ก่อนแล้วทุกประการ
แหล่งที่มา
http://www.thaibiotech.info/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87-cloning
เซลล์ (Cell)
เซลล์ (Cell) คือ อะไร (What is Cell ?)

เซลล์ (Cell) คือ หน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต โดยเซลล์(cell) มาจากคำว่า Cella ในภาษาละติน ซึ่งมีความหมายว่าห้องเล็ก ๆ
เซลล์ (Cell)สามารถเพิ่มจำนวน เจริญเติบโตและตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ เซลล์บางชนิดเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง เช่น เซลล์อสุจิ เป็นต้น
เซลล์ (Cell)มีอยู่หลายชนิดซึ่งมีรูปร่างและลักษณะที่แตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์(cell)และหน้าที่การทำงานของเซลล์(cell) แต่เซลล์(cell)มีโครงสร้างที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน ที่มีเหมือนกัน คือ เยื่อหุ้มเซลล์(cell membrane) ไซโตพลาซึม(cytoplasm)และนิวเคลียส(nucleus) โดยเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์(cell)และกั้นเซลล์(cell)จากสิ่งแวดล้อมภายนอก ภายในเซลล์(cell)มีโครงสร้างเล็ก ๆ เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) ล่องลอยอยู่ในส่วนของเหลวที่เรียกว่า ไซโตซอล (cytosol) ออร์แกเนลล์เหล่านี้ทำหน้าที่ต่าง ๆ กันมีนิวเคลียส(Nucleus) เป็นศูนย์กลางควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึม(metabolism)ต่าง ๆและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต่างก็ประกอบด้วยเซลล์(cell)ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สามารถบ่งบอกถึงคุณสมบัติและแสดงความเป็นสิ่งมีชีวิตอย่างชัดเจนสมบูรณ์ เซลล์(cell)ช่วยในการสร้างและซ่อมแซม ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
มีเซลล์(cell)อยู่ในร่างกายของคนเรามากมายหลายชนิด ซึ่งเซลล์(cell)แต่ละชนิดจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น เซลล์(cell)ของกล้ามเนื้อหัวใจ จะทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจให้เกิดการทำงาน, เซลล์(cell)ของตับอ่อน จะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน(Insulin)ที่สามารถช่วยเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงานให้กับร่างกาย
ในปี พ.ศ.2208 (ค.ศ. 1665) โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทำการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบมาใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก พบว่าเนื้อเยื่อของไม้คอร์ก ประกอบด้วยช่องว่างเล็ก ๆ จำนวนมาก แล้วเรียกช่องที่ว่านี้ว่า “เซลล์ (cell)” ซึ่งเป็นเซลล์(cell)ที่ตายแล้วแต่ยังสามารถคงรูปให้อยู่ได้เพราะมีผนังเซลล์(cell wall)ซึ่งมีความแข็ง หลังจากนั้นก็ทำการค้นคว้าศึกษาในเรื่องของ เซลล์(cell)ของพืช เซลล์(cell)ของสัตว์และเซลล์(cell)ของจุลินทรีย์ต่างๆ เรื่อยมา จนในปี พ.ศ.2382 (ค.ศ. 1839) นักวิทยาศาสตร์ชื่อ ทีโอดอร์ ชวานน์(Theodor Schwann) และ แมตเทียส จาคอบ ชไลเดน(Matthias Jakob Schleiden) (ทั้งคู่เป็นชาวเยอรมัน)ได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์ (cell theory)ขึ้นมา
ดีเอ็นเอ (DNA)
ดีเอ็นเอ (DNA) คืออะไร (What is DNA ?)


ดีเอ็นเอ (DNA)คือ ชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic Acid) ซึ่งเป็นจำพวกกรดนิวคลีอิก(Nucleic acid) (กรดที่สามารถพบได้ในส่วนของใจกลางของเซลล์) ซึ่ง ดีเอ็นเอ (DNA) มักพบอยู่ในส่วนของนิวเคลียสของเซลล์ โดยพันตัวอยู่บนโครโมโซม(Chromosome) ดีเอ็นเอ (DNA)มักพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (Human), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เห็ดและรา (Fungi), แบคทีเรีย (Bacteria), ไวรัส (Virus) (มีคนบางกลุ่มมีความเห็นว่า ไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเพราะมีองค์ประกอบบางอย่างไม่ครบ) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA) ทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆเอาไว้ ซึ่งมีลักษณะที่มีการผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ รุ่นพ่อและแม่ (Parent) ทั้งยังสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือรุ่นลูก หรือ รุ่นหลาน
ดีเอ็นเอ (DNA) มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่(Double Helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide) 2 สาย เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกัน พอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก 3’ ไป 5’ ส่วนพอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’ โดยที่พอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)ทั้ง 2 สายนี้ เอาส่วนที่เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ไว้ด้านนอก หันส่วนที่เป็นเบสเข้าหากัน โดยเบสที่อยู่ตรงข้ามกันต้องเป็นเบสที่เข้าคู่กันได้(Complementary) ดีเอ็นเอ (DNA) จึงมีลักษณะคล้ายบันไดลิงที่บิดตัวทางขวา หรือบันไดเวียนขวา ขาหรือราวของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) นิวคลีโอไทด์(Nucleotide)เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar), หมู่ฟอสเฟต (Phosphate Group) (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) เบสในนิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (Adenine, A) , ไทมีน (Thymine, T) , ไซโตซีน (Cytosine, C) และกัวนีน (Guanine, G) ขาหรือราวของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ Double Bonds และ C จะเชื่อมกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสามหรือ Triple Bonds (ในกรณีของดีเอ็นเอ (DNA)) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอ (DNA)นั่นเอง
ดีเอ็นเอ (DNA) มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่(Double Helix) โดยมีพอลินิวคลีโอไทด์ (Polynucleotide) 2 สาย เรียงตัวในแนวที่ตรงกันข้ามกัน พอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)สายหนึ่งเรียงตัวในทิศทางจาก 3’ ไป 5’ ส่วนพอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)อีกสายหนึ่งเรียงตัวในทิศทาง 5’ ไป 3’ โดยที่พอลินิวคลีโอไทด์(Polynucleotide)ทั้ง 2 สายนี้ เอาส่วนที่เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar)ไว้ด้านนอก หันส่วนที่เป็นเบสเข้าหากัน โดยเบสที่อยู่ตรงข้ามกันต้องเป็นเบสที่เข้าคู่กันได้(Complementary) ดีเอ็นเอ (DNA) จึงมีลักษณะคล้ายบันไดลิงที่บิดตัวทางขวา หรือบันไดเวียนขวา ขาหรือราวของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์(Nucleotide) นิวคลีโอไทด์(Nucleotide)เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาลดีออกซีไรโบส(Deoxyribose Sugar), หมู่ฟอสเฟต (Phosphate Group) (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และไนโตรจีนัสเบส (Nitrogenous Base) เบสในนิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (Adenine, A) , ไทมีน (Thymine, T) , ไซโตซีน (Cytosine, C) และกัวนีน (Guanine, G) ขาหรือราวของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ Double Bonds และ C จะเชื่อมกับ G ด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสามหรือ Triple Bonds (ในกรณีของดีเอ็นเอ (DNA)) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอ (DNA)นั่นเอง
ดีเอ็นเอ(DNA)มีสภาวะความเป็นกรดและมีสภาพประจุเป็นประจุลบ หากดีเอ็นเอ(DNA)ได้รับ รังสีเอ็กซ์(X-rays) หรือ ความร้อน หรือสารเคมีบางตัว จะทำให้พันธะไฮโดรเจนของเบสที่ยึดกันระหว่างในสายดีเอ็นเอ(DNA)ถูกทำลาย สายคู่ของดีเอ็นเอ(DNA)ที่ยึดเกาะกันจะแยกออกจากกัน เรียกว่า “การทำให้เสียสภาพ (Denaturation)” แต่ดีเอ็นเอ(DNA)สามารถกลับมาเป็นเกลียวคู่ได้ใหม่ เรียกว่า “การคืนสภาพ (Renaturation)” ดีเอ็นเอ(DNA)ในบริเวณที่มีเบส A และ T มากจะใช้อุณหภูมิในการแยกดีเอ็นเอ(DNA)น้อยกว่าบริเวณที่มีเบส G และ C มาก (เพราะ A กับ T เชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะคู่ หรือ Double Bonds จึงใช้พลังงานในการแยกน้อยกว่า C กับ G ซึ่งเชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจนแบบพันธะสาม)
ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ(DNA) คือ ฟรีดริช มีเชอร์ (Johann Friedrich Miecher) ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ยังไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก (James D. Watson and Francis Crick)เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสร้างแบบจำลองโครงสร้างของดีเอ็นเอ(DNA) (DNA Structure Model)จนทำให้ได้รับรางวัลโนเบล(Nobel Prize in Physiology or Medicine in 1962) และนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ (DNA Technology)
chromosome
เซนโทรเมียร์ คือ อะไร (What is Centromere?)

เซนโทรเมียร์หรือเซนโตรเมียร์(Centromere) คือ ตำแหน่งหนึ่งบนโครโมโซม(Chromosome)จะมีลักษณะเป็นรอยคอดที่บนโครโมโซม(Chromosome)และเป็นที่อยู่ของโปรตีนไคนีโตคอร์หรือไคนีโทคอร์(Kinetochore)
ความแตกต่างระหว่าง ยีน(Gene) ดีเอ็นเอ(DNA) และ โครโมโซม
ข้อแตกต่างระหว่าง ยีน(Gene) ดีเอ็นเอ(DNA) และ โครโมโซม (Chromosome) คือ
- ยีน(Gene) เป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ(DNA)
- ดีเอ็นเอ(DNA) จะมีส่วนที่ไม่ใช่ยีนและส่วนที่เป็นยีน(Gene)เป็นส่วนประกอบ และ ดีเอ็นเอ(DNA) เป็นส่วนประกอบหลักของโครโมโซม (Chromosome)
- โครโมโซม (Chromosome) มีดีเอ็นเอ(DNA)และโปรตีน(Protein) เป็นส่วนประกอบหลัก
- ยีน(Gene) เป็นส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอ(DNA)
- ดีเอ็นเอ(DNA) จะมีส่วนที่ไม่ใช่ยีนและส่วนที่เป็นยีน(Gene)เป็นส่วนประกอบ และ ดีเอ็นเอ(DNA) เป็นส่วนประกอบหลักของโครโมโซม (Chromosome)
- โครโมโซม (Chromosome) มีดีเอ็นเอ(DNA)และโปรตีน(Protein) เป็นส่วนประกอบหลัก
โครโมโซมเพศ (sex chromosome) คือ ชื่อเรียกของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางเพศหรือเป็นตัวกำหนดเพศ
ออโตโซม (autosome) คือ อะไร (What is autosome ?)
ออโตโซม (autosome) คือ ชื่อเรียกโครโมโซม(chromosome)หรือกลุ่มของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะต่างๆของร่างกาย ยกเว้น ลักษณะที่เกี่ยวกับเพศ ออโตโซม(autosome)มีเหมือนกันทั้งเพศชายและเพศหญิงออโตโซม(autosome) ในเซลล์ร่างกายของคน(2n)มี 22 คู่ ถูกแบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ A B C D E F G แต่ออโตโซม(autosome) ในเซลล์สืบพันธุ์(n)มีแค่ 22 แท่ง ซึ่งโดยปกติแล้วโครโมโซม(chromosome)ของคนมีทั้งหมด 23 คู่เป็นออโตโซม (autosome) 22 คู่ เป็นโครโมโซมเพศ(sex chromosome) 1 คู่
โปรตีนฮิสโตน (Histone protein) คือ อะไร ?

โปรตีนฮิสโตน (Histone Protein) คือโปรตีนที่มีกรดอะมิโนมีสภาพประจุเป็นบวกและมีสภาวะเป็นเบส(เกิดจากการที่มีกรดอะมิโน ชนิดไลซีน และอาร์จินีน ที่มีคุณสมบัติเป็นเบส)อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งโปรตีนฮิสโตน (Histone Protein)นี้เป็นหน่วยย่อยของนิวคลีโอโซม(Nucleosome) ทำให้โปรตีนฮิสโตน (Histone Protein)เกี่ยวข้องกับการม้วนตัวของดีเอ็นเอ(DNA)และการแสดงออกของยีน(gene)
นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ อะไร ?

นิวคลีโอโซม (Nucleosome) คือ หน่วยย่อยของโครโมโซม (chromosome) โดยที่โครโมโซม (chromosome)ประกอบด้วยโครงสร้างคล้ายสายลูกปัดซึ่งโครมาทิน(chromatin) ซึ่งตัวลูกปัดที่อยู่บนสายนั้นถูกเรียกว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) หรือกล่าวได้ว่า นิวคลีโอโซม (Nucleosome) เป็นหน่วยย่อยของโครมาทิน(chromatin)
ความแตกต่างระหว่าง โครมาทิน (chromatin) กับ โครมาทิด (chromatid) คือ
โครมาทิน (Chromatin) จะมองเห็นเป็นเส้นใย และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) ส่วน โครมาทิด (chromatid) จะมองเห็นเป็นคู่แท่งติดกัน หรือเส้นคู่ติดกัน ที่เซนโทรเมียร์ (Centromere) และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์มีการแบ่งตัวที่อยู่ในระยะเมตาเฟส (metaphase)
โครมาทิน (Chromatin) จะมองเห็นเป็นเส้นใย และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) ส่วน โครมาทิด (chromatid) จะมองเห็นเป็นคู่แท่งติดกัน หรือเส้นคู่ติดกัน ที่เซนโทรเมียร์ (Centromere) และ มักพบเห็นชัดในช่วงที่เซลล์มีการแบ่งตัวที่อยู่ในระยะเมตาเฟส (metaphase)

โครมาทิด หรือ โครมาติด (Chromatid) คือ โครโมโซม(chromosome)ที่ได้จำลองตัวเองจนมีลักษณะเป็นเส้นคู่ ทำให้เห็นแท่งโครโมโซม(chromosome)มี 2 โครมาทิด(Chromatid)ที่เหมือนกันทุกประการ และติดกันที่ เซนโทรเมียร์(Centromere) โดยโครมาทิด (chromatid) สามารถพบเห็นได้ในขั้นตอนของการแบ่งเซลล์โดยเฉพาะในระยะเมตาเฟส (metaphase) จะสามารถเห็นได้ชัดโดยมองผ่านกล้องจุลทรรศน์
โฮโมโลกัสโครโมโซม(Homologous chromosome) คือ อะไร
โฮโมโลกัสโครโมโซม (Homologous Chromosome) คือ โครโมโซม(chromosome)ที่เป็นคู่ที่เหมือนกัน มียีน(gene)ที่ควบคุมลักษณะเดียวกันอยู่บนตำแหน่งเดียวกันบนโครโมโซม(chromosome)ที่เป็นคู่กัน

โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ(DNA)พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” [มาจากคำว่า Nucleic + Protein ซึ่งดีเอ็นเอ(DNA)เป็นพวก Nucleic acid ส่วนฮิสโตน(histone) เป็นโปรตีน]

โครโมโซม(Chromosome)สามารถพบได้ในนิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิตทั่วไป โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดอาจมีจำนวนและรูปร่างโครโมโซม(Chromosome)แตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วทุกๆ เซลล์ภายในของสิ่งมีชีวิตจะมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)เท่ากัน
โครโมโซม (Chromosome) คืออะไร

โครโมโซม (Chromosome)เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA)รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene)[ยีน(gene)ก็อยู่ใน ดีเอ็นเอ (DNA) อีกที] ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
ชีววิทยา คือ อะไร (What is Biology ?)
ชีววิทยา (Biology) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่างๆของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอย่างมีเหตุและผล ซึ่งศึกษาทั้งในเรื่อง ด้านโครงสร้าง ด้านการทำงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านวิวัฒนาการ ด้านถิ่นกำเนิด ด้านอนุกรมวิธาน ด้านการกระจายพันธุ์ และด้านอื่นๆอีกที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต โดยจะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้าอย่างมีเหตุมีผลในทุกแง่ทุกมุมของสิ่งมีชีวิตโดยละเอียด ซึ่งจะพึ่งพาการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยในการศึกษาสิ่งมีชีวิต
คำว่า ชีววิทยา (Biology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก จากคำว่า “bios” ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ “logos” ที่แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล
คำว่า ชีววิทยา (Biology) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก จากคำว่า “bios” ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ “logos” ที่แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล
เนื่องจากแต่ละเรื่องในเนื้อหาของชีววิทยามีกระบวนการและขั้นตอนการศึกษาที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนมีหลายขั้นตอน ชีววิทยาจึงแตกแขนงเป็นสาขาวิชาต่างๆอีกมากมาย เพื่อจะได้เน้นศึกษาเฉพาะเรื่องของชีววิทยา ทำให้ศึกษาในเรื่องนั้นๆได้ละเอียดและลึกมากยิ่งขึ้น


แหล่งที่มา http://www.thaibiotech.info/what-is-biology.php
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)